เมนู

จิต มนะ มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน (กับผัสสะเป็นต้น ) ตัณหานั้น
สหรคต เกิดร่วม เกี่ยวข้อง สัมปยุต มีความเกิดร่วมกัน มีความดับ
ร่วมกัน มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกันกับด้วยจิตคือใจ แม้เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่มี ณ ภายใน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัณหาอย่างใด
อย่างหนึ่งที่มี ณ ภายใน.

ว่าด้วยผู้มีสติโดยเหตุ 4


[708] คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา
เพื่อกำจัดซึ่งตัณหาเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ
ความว่า ในกาลทุกเมื่อ ใน
กาลทั้งปวง ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดกาลเป็นนิตย์ ตลอดกาลยั่งยืน
ตลอดกาลนิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียว ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาล
เป็นลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบ
เนื่อง ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด ในกาลก่อนภัต ใน
กาลหลังภัต ในยามต้น ในยามกลาง ในยามหลัง ในข้างแรม ในข้าง
ขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน ในตอนวัยต้น ในตอนวัยกลาง
ในตอนวัยหลัง.
คำว่า ผู้มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4 อย่าง คือเมื่อเจริญ
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานในกาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญเวทนานุปัสสนา-
สติปัฏฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญจิตตานุปัสสนา-
สติปัฏฐานในจิต ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เมื่อเจริญธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานใน
ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ 4.